ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า
          องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า  ได้กำหนดวิสัยทัศน์  (Vission)  เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดมคติ
ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายและปรารถนา  คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  
และสงบสุข  น่าอยู่อาศัยและมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมดี  จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์  คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตดังนี้
          สังคมใฝ่คุณธรรม  ก้าวนำด้านการศึกษา  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  สร้างการบริหารจัดการที่ดี  
ครอบครัว  อยู่ดี  มีสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
    เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า  มียุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความ
สำเร็จรวม  6  ยุทธศาสตร์
1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    เป้าหมาย 
    เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนจากการอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่  การปรับปรุงและพัฒนา
แหล่งน้ำ  การก่อสร้าง  การซ่อมบำรุงรักษาถนน  การพัฒนาระบบไฟฟ้าหมู่บ้านและระบบไฟฟ้าสาธารณะ  ตลอดทั้งโครงสร้าง
พื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  ให้มีความสะดวกและมาตรฐาน  เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่นๆ
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
    2. จำนวนการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำ
    3. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
    4. จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    เป้าหมาย
    เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน  ให้เกิดทักษะในการพัฒนาฝีมือการผลิต  การเพิ่มมูลค่าของสินค้า
และสามารถขยายการตลาดไปสู่การตลาดกลาง  ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนบุคลากรที่มีทักษะในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
    2. จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
    3. จำนวนครัวเรือนที่พัฒนาการเกษตรตามแนวทางของทฤษฎีใหม่
3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
    เป้าหมาย
    เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมของคนภายในชุมชนทางด้านจิตใจ  ด้านการศึกษา  ด้านสุขภาพอนามัย  ด้านสวัสดิการ
และสังคม  ด้านกีฬา  ให้มีคุณภาพและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งเป็นไปตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่  10  (พ.ศ.2550 - 2554)
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
    2. จำนวนประชากรผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
    3. จำนวนประชากรที่ได้รับสวัสดิการด้านชุมชน
    4. จำนวนชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมด้านกีฬาและการนันทนาการ
4.  ยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    เป้าหมาย
    เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม  คุ้มครองดูแล  บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ให้ชุมชนรู้จัก
วิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องร่วมกัน  ไม่ให้มีปัญหาภายในชุมชนซึ่งเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    2. จำนวนปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้บริหารจัดการกำจัดขยะในชุมชน
    3. จำนวนแหล่งของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองดูแล
5.  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    เป้าหมาย
    เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ  และประชาชนได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตามกฏหมาย
เพื่อบรรลุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดนครราชสีมา  ตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
    2. จำนวนบุคลากรและองค์กรที่มีศักยภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้น
    3. ส่งเสริมการจัดการบริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล(PSO)
    4. สำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการ
6.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    เป้าหมาย
    เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาแบบบูรณาการ  การขยายศูนย์ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนของประชาชนในชุมชน
ตลอดจนพัฒนาระบบสารสนเทศและการกระจายข้อมูลข่าวสารตามแนวทางนโยบายรัฐบาล
    ตัวชี้วัด
    1. จำนวนภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานบริการกิจการศึกษา
    2. จำนวนแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการพัฒนาระบบ
    3. จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการพัฒนาระบบการศึกษา